เมนู

ย่อมประกอบด้วยธรรมเป็นองค์แห่งโสดาปัตติ 4 อย่างนั้น.
[159] ก็ญายธรรมอันประเสริฐ อันอริยสาวกนั้นเห็นดีแล้ว
แทงตลอดดีแล้วด้วยปัญญาเป็นไฉน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกใน
ธรรมวินัยนี้ กระทำไว้ในใจโดยแยบคาย ถึงปฏิจจสมุปบาทเป็นอย่างดี
ฯ ล ฯ ญายธรรมอันประเสริฐนี้ อริยสาวกนั้นเห็นดีแล้ว แทงตลอดดี
แล้วด้วยปัญญา.
[160] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดแล ภัยเวร 5 ประการนี้
ของอริยสาวกสงบแล้ว เมื่อนั้นอริยสาวกย่อมประกอบด้วยธรรมอันเป็น
องค์แห่งโสดาปัตติ 4 อย่างนี้ และญายธรรมอันประเสริฐนี้ อันอริยสาวก
นั้นเห็นดีแล้ว แทงตลอดดีแล้วด้วยปัญญา อริยสาวกนั้นหวังอยู่ พึง
พยากรณ์ตนด้วยตนเองได้ว่า เราย่อมเป็นผู้มีนรกสิ้นแล้ว มีกำเนิดสัตว์
ดิรัจฉานสิ้นแล้ว มีปิตติวิสัยสิ้นแล้ว มีอบาย ทุคติ วินิบาตสิ้นแล้ว เรา
ย่อมเป็นโสดาบัน มีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงจะตรัสรู้ใน
ภายหน้า.
จบทุติยปัญจภยเวรสูตรที่ 2

อรรถกถาทุติยปัญจเวรภยสูตรที่ 2



ในสูตรที่ 2 เพียงแต่ภาวะที่พวกภิกษุกล่าวเท่านั้น เป็นความ
ต่างกัน.
จบอรรถกถาปัญจเวรภยสูตรที่ 2

3. ทุกขนิโรธสูตร



ว่าด้วยเหตุเกิดแห่งทุกข์และความดับทุกข์



[161] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัส
ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงเหตุเกิดแห่งทุกข์ และความดับ
แห่งทุกข์ ท่านทั้งหลายจงฟัง จงทำไว้ในใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุ
เหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระพุทธเจ้าข้า.
[162] พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ก็ความเกิดขึ้นแห่งทุกข์เป็นไฉน. เพราะอาศัยจักษุและรูป จึงเกิดจักขุ-
วิญญาณ ความประชุมแห่งธรรม 3 ประการเป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็น
ปัจจัย จึงเกิดเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงเกิดตัณหา ภิกษุทั้งหลาย
นี้แลเป็นความเกิดขึ้นแห่งทุกข์ เพราะอาศัยหูและเสียง . . . เพราะอาศัยจมูก
และกลิ่น . . . เพราะอาศัยลิ้นและรส . . . เพราะอาศัยกายและโผฏฐัพพะ
เพราะอาศัยใจและธรรม จึงเกิดมโนวิญญาณ ความประชุมแห่งธรรม 3
ประการเป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดเวทนา เพราะเวทนาเป็น
ปัจจัย จึงเกิดตัณหา ภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็นความเกิดขึ้นแห่งทุกข์.
[163] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ความดับแห่งทุกข์เป็นไฉน. เพราะ
อาศัยจักษุและรูป จึงเกิดจักขุวิญญาณ ความประชุมแห่งธรรม 3 ประการ
เป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัย
จึงเกิดตัณหา เพราะตัณหานั้นเทียวดับด้วยสำรอกโดยไม่เหลือ อุปาทานจึง
ดับ เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ เพราะภพดับ ชาติจึงดับ เพราะชาติ